เรียนรู้กับครูพลศึกษา (ครูสิงห์)
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 

ประวัติความเป็นมา

และ

ความรู้ทั่วไป

แนวคิดกีฬาบาสเกตบอล 

 

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่มีความเป็นที่นิยมมากในสมัยนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อย่างน้อยสุดผู้เรียนควรรู้ทักษะขั้นพื้นฐาน ความรู้ทั่วไป กติกา กลวิธีการเล่น  กฎกติกาการแข่งขัน ตลอดจนความปลอดภัยในการเล่น เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะด้านการเป็นผู้เล่นหรือการเป็นผู้ชม เพื่อดู้และเล่นได้อย่างถูกต้องและสนุกสนานต่อไป

 

สาระการเรียนรู้

 

1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาบาสเกตบอล

2.ทักษะกีฬาบาสเกตบอล

3.วิธีการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

4.กลวิธีกรเล่นกีฬาบาสเกตบอล

5.กฎ กติกาการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล

6.ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

 

ผลการเรียนที่คาดหวัง 

1.มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาบาสเกตบอล

2.มีทักษะการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

3.มีความรู้ความเข้าใจวิธีการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

4.รู้และเข้าใจกลวิธีการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

5.รู้ เข้าใจ จำแนก และปฏิบัติตาม กฎกติกาในการเล่นและการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล

6.รู้เข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

 

 

 

ประวัติในต่างประเทศ

 

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด กำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษา ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ (International Young Men’s Christian Association Training School) ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ  ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจาก
ในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยัง
ลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษา    
          กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙
(พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่
ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่น
เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้ ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับ
นานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น

  

ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ

 

 
            ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
อย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายนพคุณ
พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
       พ.ศ ๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น
เป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา
       พ.ศ ๒๔๙๕ ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และ
การแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป
     พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖
      ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา
คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา
องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่
สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร
การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป

 

                       

 

กติกาบาสเกตบอล (อย่างสังเขป) 

 

 

สนามแข่งขันปรับปรุงใหม่  ปี 2553/2010

-   สนาม 28 x 15 เมตร  ( เล็กสุด 26x 14 เมตร ) เพดานไม่ต่ำกว่า 7  เมตร เส้นสนาม  5 ซม. ทุกเส้น

-   ลูกบาสเกตบอล ขนาดเบอร์ 7  เส้นรอบวง74.9-78 ซม.  หนัก 567 - 650 กรัม การกระดอน ปล่อยจากจุด

-   180 ซม.   ต้องกระดอนระหว่าง  120 -  140  ซม.

-   ทีม ผู้เล่น 10- 12  คน ( แล้วแต่กำหนด )  ลงเล่น 5  คน

-   เวลาการแข่งขัน  4  ช่วง ๆ ละ 10 นาที  ( พักช่วง 2 นาที  พักครึ่ง15  นาที )  เสมอต่อเวลาพิเศษ กี่ช่วงก็ได้จนชนะช่วงละ 5  นาที

-   วิธีการเล่น  เล่นได้ทั้งมือเดียวและ 2 ข้าง   การทำผิดระเบียบคือวิ่งพร้อมลูก เตะ ทุบ ชก อย่างจงใจ 

-   การครอบครองบอล การถือหรือเลี้ยงบอลถือเป็นบอลดี  ทีมที่ครอบครองส่งไป มา ถือเป็นบอลดี  ลูกที่ปล่อยออกจากการยิงประตู การโยนโทษถือเป็นบอลตาย

-   การได้ประตู ยิง 2 ,3   ตามพื้นที่กำหนด  ,  1 แต้ม คือลูกโทษ

-   การเลี้ยงคือการให้บอลอยู่ในอากาศและให้กระทบพื้นก่อนถูกมืออีกครั้ง โยนปัด กลิ้ง ถือเป็นบอลดี

-   กติกาเวลา 3 วินาที (ผู้เล่นฝ่ายรุกเข้าไปอยู่พื้นที่ใต้แป้นฝ่ายรับ) 8วินาที (ผู้เล่นฝ่ายรุกต้องเอาบอลขึ้นสู่พื้นที่ในเกมรุก) 24วินาที(ฝ่ายรุกต้องทำการยิงประตูภายในเวลาที่กำหนดนับตั้งแต่ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลัง)

-   การฟาล์วบุคคล ทำผิดคือ ดึง สกัดกั้น ผลัก เข้าชน ขัดขา ขัดขวางการเคลื่อนที่โดยแขน ศอก ไหล่ สะโพก ขา เข่า   เท้า เล่นหยาบคาย เล่นรุนแรง    บทลงโทษ บันทึกและเปลี่ยนการครอบครองบอล ไก้ลจุดเกิดเหตุ  ฟาล์วคู่  ทำฟาล์วบุคคลพร้อมกัน  บทลงโทษ บันทึก และให้ฝ่ายที่ได้เปรียบส่งบอลเข้าเล่นหรือจั๊มบอลถ้าหาผู้ได้เปรียบไม่ได้

 

                                                                      

ประโยชน์การเล่นกีฬาบาสเกตบอล 

 

1.พัฒนากลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น   โดยมีการทำงานประสานกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น การประสานงานของมือกับตา เท้ากับตา มือกับเท้า เป็นต้น 

2.ฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา ทำให้เป็นคนใจกว้าง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ยอมรับความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่น ตลอดจนเคารพต่อกฎกติกา ระเบียบของการแข่งขันบาสเกตบอล 

3.นำไปใช้ในการจัดการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในการเรียนวิชาพลศึกษาทุกช่วงชั้นแทบทุกโรงเรียนมักมีการจัดกีฬาบาสเกตบอลเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพื่อการออกกำลังกาย 

4.ทำให้ร่างกายแข็งแรง การเล่นกีฬาบาสเกตบอลจะให้ได้ออกกำลังกาย จงส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง 

5.พัฒนาและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย การเล่นบาสเกตบอลต้องใช้ความสามารถทางร่างกายหลายด้านเช่น ความเร็ว ความคล่องตัว ความแข็งแรง ความอดทน เป็นต้น จึงส่งผลให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น  

6.ทำให้เกิดความรักใคร่ สามัคคีในหมู่คณะ  บาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม ผู้เล่นต้องฝึกซ้อมร่วมกันประสานสัมพันธ์กันในการเล่น มีการช่วยเหลือกัน เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน 

7.ทำให้มีไหวพริบดี ฉลาด และแก้ปัญหาได้ดี  การเล่นบาสเกตบอลต้องมีการเผชิญหน้ากับคู่แข่งขัน มีการหลบหลีก หลอกล่อเข้าแย่งลูกบอล ทำให้ต้องคิดและมีการตัดสินใจตลอดเวลา 

8.ทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นสนุก คลายความตึงเครียดในการประกอบภารกิจประจำวันได้ 

9.ทำให้มีจิตใจหนักแน่นควบคุมอารมณ์ได้ดี  การเล่นบาสเกตบอลย่อมมีการกระทบกระทั่งกันอยู่บ่อยครั้ง จึงเป็นการช่วยฝึกจิตใจให้หนักแน่น และควบคุมอารมณ์โกรธ เพราะเป็นการกระทบกระทั่งกันในเกมการเล่น 

 

มารยาทของการเป็นผู้เล่น และผู้ดูกีฬาบาสเกตบอล 

 

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่มีผู้เล่น 2 ฝ่ายแข่งขันกัน ไม่มีตาข่ายมากั้น สนามไม่ใหญ่นักและต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แม้กติกาจะห้ามถูกตัว ปะทะ ชน กระแทกกัน แต่ในการเล่นจริงๆ แล้วย่อมหลีกเลี่ยงได้ยาก ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ให้อภัยกัน ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้  ไม่เคารพกติกา  ปัญหาการทะเลาะวิวาทอาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง  ในฝ่ายของผู้ดูก็ต้องรักษามารยาทด้วยเช่นกัน  ทั้งผู้เล่นและผู้ดูจึงต้องมีมารยาทในการเล่นและดูดังนี้

     1. มารยาทของผู้เล่นที่ดี มีดังนี้ 

                   1.1       แต่งกายในชุดที่เหมาะสมกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

                   1.2       ปฏิบัติตามกฎกติกา และระเบียบการแข่งขันอย่างเคร่งครัด

1.3       ต้องมีน้ำใจนักกีฬา

1.4       ต้องเล่นด้วยความสุภาพ และมีมารยาทของนักกีฬา

1.5       ไม่แสดงอาการดีใจ หรือเสียใจในผล แพ้ / ชนะจนเกินไป

1.6       ยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน ไม่โต้เถียง หรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีต่อผู้ตัดสิน

1.7       รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุและกระทบกระทั่งจากฝ่ายตรงข้าม

1.8       ต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าจะแพ้ หรือชนะ

1.9       เมื่อเกิดการเล่นผิดพลาดขึ้นในทีมจะต้องไม่ว่ากัน

1.10     ก่อนการแข่งขัน และหลังแข่งขันให้จับมือกับผู้แข่งขัน และไหว้ขอบคุณผู้ตัดสิน และผู้ช่วยผู้ตัดสินเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน

 

    2. มารยาทของผู้ดูที่ดี มีดังนี้ 

                   2.1       ควรนั่งหรือยืนดูให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่บังผู้อื่น ไม่กีดขวางการเล่นของนักกีฬา และทำหน้าทของผู้ตัดสิน

                   2.2       ต้องมีน้ำใจนักกีฬา

                   2.3       ปรบมือแสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นได้ดี

2.4       ไม่แสดงกิริยาท่าทางหรือส่งเสียงยั่วยุให้ผู้เล่นไม่มีสมาธิในการเล่น  หรือนำไปสู่การเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท

 

2.5       ยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน ไม่ควรแสดงกิริยาหรือวาจาที่ไม่สุภาพต่อผู้ตัดสิน

2.6       ไม่ประท้วง โห่ หรือ ขว้างปา วัตถุใดๆ  ลงไปในสนามแข่งขัน

2.7       ไม่ทำให้สนาม หรือสถานที่แข่งขันสกปรก

2.8       แสดงความยินดีกับผู้ชนะ และเป็นกำลังให้กับผู้แพ้

 

 

การดูแลรักษาอุปกรณ์ 

การดูแลรักษาอุปกรณ์เป็นสิ่งที่ผู้ใช้อุปกรณ์ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ  เพื่อให้อุปกรณ์มีความทนทานใช้งานได้นานที่สุด  คุ้มค่ากับงบประมาณที่ซื้ออุปกรณ์มา ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้ 

            1.         ควรทำความสะอาดลูกบาสเกตบอลที่เปรอะเปื้อนด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด

            2.         ถ้าลูกบอลตกน้ำให้รีบเก็บขึ้นมา และเช็ดให้แห้ง

            3.         ไม่ควรสูบลูกบอลจนแข็งเกินไป ถ้าจะเอาลมออก ก็ควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกบาสเกตบอล ไม่ควรใช้ของแหลมแทงที่จุ๊บเพื่อปล่อยลม

            4.         ไม่ควรนั่งทับลูกบาสเกตบอล

   5.         ไม่ควรให้ลูกบาสเกตบอลตากแดด ตากฝนเป็นเวลานาน

   6.         ควรเก็บลูกบาสเกตบอลในที่ที่เหมาะสม เช่น เก็บในรถเข็นใส่อุปกรณ์ เป็นต้น

   7.         ตรวจนับลูกบาสเกตบอลก่อนและหลังเล่นทุกครั้งว่าอยู่ครบหรือไม่

   8.         รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด ถ้าเป็นพื้นไม้ปาเกต์ควรเช็ดถูด้วย

   9.         สำรวจเสา กระดานหลังห่วงประตูว่ามั่นคงอยู่หรือไม่ถ้าหลวม โยก คลอน ต้องรีบซ่อมทันที

  10.       ไม่ควรโหน หรือโยกเสา ห่วงประตู หรือตาข่าย

  11.       ตาข่ายควรใช้ลวด เทป หรือเชือกยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ ถ้าหลุดให้รีบพันให้เรียบร้อย

   12.       ไม่ควรนำลูกบาสเกตบอลไปเตะเล่น

 

 

 


 

ทักษะการเคลื่อนที่ 

 

พื้นฐานการยืนท่าเตรียมพร้อม

                เป็นท่าเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งรับแบบโซน ปฏิบัติโดยยืนแยกเท้าห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ย่อเข่าลงตามถนัด ให้น้ำหนักตัวส่วนใหญ่อยู่ที่ปลายเท้าทั้งสอง ลำตัวตั้งตรง กางแขนทั้งสองข้างออกพร้อมใช้งาน สายตามองตรง 

 

 

การก้าวเท้าเคลื่อนที่ตามกันหรือการสไลด์

            1.การสไสลด์ไปด้านข้างไปได้ทั้งสองข้าง ซ้ายและขวา  ถ้าต้องการไปทางขวา ให้ก้าวเท้าขวาไปก่อนและตามด้วยเท้าซ้าย ชิดไปเรื่อย ๆ ด้านซ้ายก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนเท้าขึ้นนำ

            2.การสไลด์ไปด้านหน้าและถอยหลัง เป็นการก้าวเท้าตามกันไปหรือถอยหลังตามกันไป ถ้าจะไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าขวาเป็นเท้าอีกข้างตามกันเรื่อย ๆ

 

การวิ่งแล้วหยุด

      1.การหยุดด้วยเท้าข้างเดียว เป็นการหยุดที่มีเท้านำเท้าตาม คือเมื่อวิ่งมาและต้องการหยุด เมื่อเท้าหน้ตกถึงพื้น ให้ลงด้วยปลายเท้าและหย่อนเข่าลง ลดสะโพกต่ำลง แขนกางออกข้อศอกงอ

2.การหยุดเท้าคู่ เท้าทั้ง 2  ข้างพร้อมกัน เป็นการหยุดแบบเท้าคู่ คือวิ่งมาเมือต้องการหยุดให้กระโดดขึ้นเล็กน้อยแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง  2 ข้างพร้อมกัน เมื่อเท้าตกถึงพื้นให้ให้ลงด้วยปลายเท้าแล้วย่อเข่าลง ลดสะโพกต่ำลง กางแขนออก งอข้อสอบ

 

 

 

การกระโดด

            ในการเล่นบาสเกตบอล ต้องใช้การกระโดดบ่อยมากทำโดยยืนแยกเท้าห่างกันหนึ่งช่วงไหล่ ย่อตัวลงแล้วกระโดดชูแขนขึ้น ลำตัวและขาเหยียดตรง

 

 

 

การจับและการครอบครองบอล 

 

การจับบอลเป็นทักษะเริ่มต้นที่เล่นกับลูกบอล โดยจับตรงกลางลูกบอลด้านข้างค่อนมาด้านหลังด้วยมือทั้ง 2 ข้างกางข้อศอกออกเล็กน้อย กางนิ้วมือออกพอประมาณ ให้นิ้วมือทุกนิ้วและฝ่ามือสัมผัสลูกเต็ม ๆ นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านในไกล้ลำตัวตำแหน่งของลูกบอลอยู่ระดับอก ยืนเท้าแยก 1 ช่วงไหล่ย่อเข่าลงเล็กน้อยให้ปลายเท้าส่วนใหญ่อยู่ที่ปลายเท้าทั้ง  2 ข้าง

  

  

  

การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล 

การเลี้ยงบอลให้ใช้ส่วนของปลายนิ้ว และโคนนิ้วไม่ใช่อุ้งมือกดลูกลงตามจังหวะลูกกระดอน ไม่ใช่การตีลูกด้วยมือ แบ่งตามลักษณะความสูงได้ดังนี้

  

  

 เลี้ยงบอลสูง

          ใช้สำหรับการเคลื่อนที่เร็ว ความสูงของลูกบอลอยู่ระดับอก และไหล่ของผู้เลี้ยงใช้ในกรณีที่ต้องการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อหนีคู่ต่อสู้  , เพื่อทำประตู เป็นต้น

 

  

การเลี้ยงบอลกลาง

                เป็นการเลี้ยงบอลระดับเอว ใช้ในกรณีที่ต้องการครอบครองบอลอยู่กับที่ และรอจังหวะการเล่นลูกลักษณะอื่น ๆ ต่อไป

  

 

 การเลี้ยงบอลต่ำ

            เป็นการเลี้ยงบอลระดับหัวเข่า ใช้กรณีที่ต้องการหลบหลีกคู่ต่อสู้  เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ หลอกล่อฝ่ายตรงข้าม  เป็นต้น

 

 

การรับลูกบาสเกตบอล 

           

ทักษะการรับลูกต้องฝึกไปพร้อม ๆ กับการส่งแบ่งได้ 3 ระดับคือ 

          1.สูง

2.กลาง

3.ต่ำ

หลักการรับลูกทั้ง 3 ระดับมีหลักการเดียวกันคือยื่นมืออกไปรับบอล และผ่อนแรงบอลเพื่อลดแรงกระแทก

 

 

 

 

ทักษะการเคลื่อนที่ 

 

พื้นฐานการยืนท่าเตรียมพร้อม

                        เป็นท่าเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งรับแบบโซน ปฏิบัติโดยยืนแยกเท้าห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ย่อเข่าลงตามถนัด ให้น้ำหนักตัวส่วนใหญ่อยู่ที่ปลายเท้าทั้งสอง ลำตัวตั้งตรง กางแขนทั้งสองข้างออกพร้อมใช้งาน สายตามองตรง 

 

 

การก้าวเท้าเคลื่อนที่ตามกันหรือการสไลด์

            1.การสไสลด์ไปด้านข้างไปได้ทั้งสองข้าง ซ้ายและขวา  ถ้าต้องการไปทางขวา ให้ก้าวเท้าขวาไปก่อนและตามด้วยเท้าซ้าย ชิดไปเรื่อย ๆ ด้านซ้ายก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนเท้าขึ้นนำ

                2.การสไลด์ไปด้านหน้าและถอยหลัง เป็นการก้าวเท้าตามกันไปหรือถอยหลังตามกันไป ถ้าจะไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าขวาเป็นเท้าอีกข้างตามกันเรื่อย ๆ

 

การวิ่งแล้วหยุด

            1.การหยุดด้วยเท้าข้างเดียว เป็นการหยุดที่มีเท้านำเท้าตาม คือเมื่อวิ่งมาและต้องการหยุด เมื่อเท้าหน้ตกถึงพื้น ให้ลงด้วยปลายเท้าและหย่อนเข่าลง ลดสะโพกต่ำลง แขนกางออกข้อศอกงอ

2.การหยุดเท้าคู่ เท้าทั้ง 2  ข้างพร้อมกัน เป็นการหยุดแบบเท้าคู่ คือวิ่งมาเมือต้องการหยุดให้กระโดดขึ้นเล็กน้อยแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง  2 ข้างพร้อมกัน เมื่อเท้าตกถึงพื้นให้ให้ลงด้วยปลายเท้าแล้วย่อเข่าลง ลดสะโพกต่ำลง กางแขนออก งอข้อสอบ

 

 

 

การกระโดด

            ในการเล่นบาสเกตบอล ต้องใช้การกระโดดบ่อยมากทำโดยยืนแยกเท้าห่างกันหนึ่งช่วงไหล่ ย่อตัวลงแล้วกระโดดชูแขนขึ้น ลำตัวและขาเหยียดตรง

 

 

 

 

การจับและการครอบครองบอล 

 

การจับบอลเป็นทักษะเริ่มต้นที่เล่นกับลูกบอล โดยจับตรงกลางลูกบอลด้านข้างค่อนมาด้านหลังด้วยมือทั้ง 2 ข้างกางข้อศอกออกเล็กน้อย กางนิ้วมือออกพอประมาณ ให้นิ้วมือทุกนิ้วและฝ่ามือสัมผัสลูกเต็ม ๆ นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านในไกล้ลำตัวตำแหน่งของลูกบอลอยู่ระดับอก ยืนเท้าแยก 1 ช่วงไหล่ย่อเข่าลงเล็กน้อยให้ปลายเท้าส่วนใหญ่อยู่ที่ปลายเท้าทั้ง  

2 ข้าง

การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล 

การเลี้ยงบอลให้ใช้ส่วนของปลายนิ้ว และโคนนิ้วไม่ใช่อุ้งมือกดลูกลงตามจังหวะลูกกระดอน ไม่ใช่การตีลูกด้วยมือ แบ่งตามลักษณะความสูง

เลี้ยงบอลสูง

                ใช้สำหรับการเคลื่อนที่เร็ว ความสูงของลูกบอลอยู่ระดับอก และไหล่ของผู้เลี้ยงใช้ในกรณีที่ต้องการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อหนีคู่ต่อสู้  , เพื่อทำประตู เป็นต้น

การเลี้ยงบอลกลาง

                เป็นการเลี้ยงบอลระดับเอว ใช้ในกรณีที่ต้องการครอบครองบอลอยู่กับที่ และรอจังหวะการเล่นลูกลักษณะอื่น ๆ ต่อไป

การเลี้ยงบอลต่ำ

เป็นการเลี้ยงบอลระดับหัวเข่า ใช้กรณีที่ต้องการหลบหลีกคู่ต่อสู้  เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่               

 

 

        

การรับลูกบาสเกตบอล 

ทักษะการรับลูกต้องฝึกไปพร้อม ๆ กับการส่งแบ่งได้ 3 ระดับคือ 

         1.สูง

2.กลาง

3.ต่ำ

หลักการรับลูกทั้ง 3 ระดับมีหลักการเดียวกันคือยื่นมืออกไปรับบอล และผ่อนแรงบอลเพื่อลดแรงกระแทก

 

ข้อเสนอแนะ 

            1.ตามองที่ลูกบาสเกตบอลตลอดเวลา

            2.อย่าใช้อุ้งมือรับบอล ให้รับด้วยนิ้ว และผ่อนแรงลูกด้วยนิ้วที่แรงมา

  3.ควรให้สัญญาณกับผู้ส่งลูก ให้รู้ว่าส่งให้ตำแน่งและทิศทางใด อย่าส่งเสียงบอกให้ส่งมาให้เพราะคู่ต่อสู้จะจับทางบอลได้

  4.พยายามวิ่งเข้าหาลูก และวิ่งไปรับบอลอย่ายืนรอบอลอยู่กับที่

  

  

การส่งบอล 

มีหลายวิธีแต่ละวิธีแล้วแต่จุดมุ่งหมายและและสถานการณ์ แต่หลักการคือควรส่งไปที่อกของเพื่อนเพราะเป็นวิธีที่เพื่อนรับได้ง่ายที่สุด

 1.การส่งลูกสองมือระดับอก

 2. การส่งลูกกระดอน

4.การส่งสองมือข้าง

5.การส่งสองมือบน เหนือ ศีรษะ

6.การส่งมือเดียว เหนือ ศีรษะ เหนือไหล่

                             

ข้อเสนอแนะ

1. อย่าส่งบอลให้กับคนที่กำลังหันหลังให้ หรือมีคู่ต่อสู้อยู่ประชิดตัว

2. อย่าส่งบอลข้ามคนเพราะอาจทำให้คู่ต่อสู้ตัดบอลไปได้ง่าย และอย่าลืมเป้าหมายของการส่งคือที่หน้าอกของเพื่อนร่วมทีมเพราะเป็นตำแหน่งที่รับได้ง่าย

3. อย่าแสดงลักษณะท่าทางว่าจะส่งบอลแบบใด ที่ไหน และให้ใคร

4. ถ้าต้องการส่งให้เร็ว และ แรงขึ้นควรสืบเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าเพื่อถ่ายน้ำหนักตัวเพิ่มแรงบอล

5. อย่าเสี่ยงส่งลูกพลิกแพลง

6. ยืนส่งอยู่กับที่ควรหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เข้าใจผิด เช่นทำท่าส่งไปด้านซ้ายแต่ส่งไปด้านขวา แต่การหลอกต้องไม่ให้เพื่อร่วมทีมเราเองหลงไปด้วย

  

  

การยิงประตู

                  เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการรุก และเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการเล่นบาสเกตบอล  ซึ่งทักษะแต่ละคนมีไม่เท่ากันต้องอาศัยการฝึกฝน องค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความแม่นยำได้แก่ วิธีการเล็ง วิธีโค้งของลูก สิ่งแวดล้อม สภาพร่างกาย  และจิตใจผู้ยิงประตู

                องค์ประกอบดังกล่าว มีผลต่อความแม่นยำเป็นอย่างยิ่งเช่นในขณะที่เกมกำลังดำเนินการแข่งขันซึ่งมักดำเนินด้วยความตื่นเต้นและดุเดือด เพราะผู้เล่นมีความสามารถในการเล่นเกมรับและเกมรุกพอๆกัน โดยเฉพาะเวลาที่มีแต้มไกล้เคียงกันสภาพจิตใจต้องเยือกเย็น มั่นคง มีการตัดสินใจที่แน่วแน่กล้าที่จะสู้และขณะเล่นต้องมีจุดเล็งที่ดีเช่นการยิงโดยไม่ให้ลูกกระทบแป้น มีจุดเล็งที่เป็นจุดกระทบขึ้นอยู่กับมุมยิง ระยะทางแรงของบอลโดยเฉพาะมุมแคบใต้แป้น จุดกระทบมักอยู่สูงและไกลจากห่วงส่วนมุมยิงกว้างมุมกระทบมักจะต่ำและไกล้ห่วงประตูนอก  จากนี้ความโค้งของส่วนเดินทางของลูกสู่ห่วงประตูต้องมีความโค้งที่มีขีดจำกัด ดังนั้นความสูงต่ำของความโค้งขึ้นอยู่กับความกว้างของมุมยิงจากมือ และเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ในระยะทางที่ปานกลางควรมีวิถีโค้งปานกลางโดยทั่วไปจุดสูงสุดของส่วนโค้งจะอยู่ระดับขอบบนของแป้น  ( ไม่รวมลูกกระทบแป้น)

                สำหรับทิศทางและความเร็วของการหมุนของลูกนั้น มาจากออกแรงของข้อมือนิ้วมือ  ขณะที่บอลออกจากมือและอยู่กลางอากาศซึ่งจะทำให้ลูกหมุนเข้าหาผู้ยิงโดยใช้ขวางของลูกเป็นแกนหมุน ดังนั้นการรักษาทิศทางทางและความแรงของลูกไว้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำของลูกไว้ สิ่งที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จคือ โอกาสและพละกำลังของผู้เล่นที่ยิงงลูกด้วย

 

โดยทั่วไปมีวิธีการดังนี้

 มือเดียวเหนือศีรษะ

 สองมือเหนือศีรษะ

 ยิงใต้ห่วง(เลย์อัพ

 

เป็นการยิงประตูระหว่างการเคลื่อนที่ในขณะที่วิ่งแล้วกระโดดขึ้นไปยิงประตู มักใช้ในการบุกเร็วและเมื่อเจาะผ่านไปใต้แป้นซึ่งสามารถเข้าไปไกล้ใต้ห่วงมากที่สุด ผู้เล่นทุกคนต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถยิงได้ 2 มือทั้งมือซ้ายและมือขวา การยิงลูกใต้ห่วงอย่างนี้เป้ฯการผสมทักษะหลายทักษะเข้าด้วยกัน  คือการเลี้ยงลูกพร้อมกับวิ่ง กระโดด และชูลูกขึ้นยิงประตู บางครั้งผู้เล่นต้องหลีกจากการถูกปัดขณะลอยตัวอยู่ด้วยทั้งนี้ทิศทางการวิ่งเข้ายิงประตูแบ่งได้ 3 ทิศทางคือ

1.ทิศทางหน้าตรงห่วง          ยิงด้วยมือที่ถนัด

2.ทิศทางด้านขวา                 ยิงด้วยมือขวา

3.ทิศทางด้านซ้าย                 ยิงด้วยด้านซ้าย

การยิงใต้ห่วงจะยิงด้วยมือเดียวหรือ 2 มือก็ได้ แต่ส่วนมากมักยิงด้วยมือเดียวลักษณะของมือในการยิงมี 3 แบบคือ

1.แบบคว่ำมือ

2.แบบหงายมือ

3.แบบ 2 มือ

 

 

 

 ทักษะทีม

 

 

ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้เล่นประกอบด้วยผู้เล่นในสนามข้างละ 5  คนดังนี้

 

                   1.ผู้เล่นหลังซ้าย   (LEFT GUARD)

2.ผู้เล่นหลังขวา (RIGHT GUARD)

3.ผู้เล่นหน้าซ้าย (LEFT FORWARD)

4.ผู้เล่นหน้าขวา (RIGHT FORWARD)

5.ผู้เล่นกลาง (CENTER)

 

 

การเล่นลูกกระโดดภายในวงกลมกลางสนาม

การเล่นลูกกระโดดกลางสนามเริ่มการแข่งขัน เป็นการเริ่มเล่นที่ยังไม่มีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองบอล ผู้ตัดสินจึงโยนลูกระหว่างผู้เล่นทั้ง 2  ทีม ทีมละ 1  คน ภายในวงกลมกลางสนาม ผู้เล่นทั้ง 2  คนต้องกระโดดขึ้นไปปัด หรือแปะไปให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันที่ยืนอยู่ รอบ ๆ วงกลมเป็นการชิงจังหวะการครอบครองบอลเพื่อเล่นเกมส์รุก

 

 

 

 

 

 

ผู้เล่นทีมรุก 

ทันทีที่ทีมบอลอยู่ที่ทีมใดทีมหนึ่ง ทีมนั้นจะกลายเป็นทีมรุกทันที และเริ่มใช้กลยุทธ์ในการนำบอลเข้าไปทำประตู เพื่อทำคะแนนให้ได้มากว่าอีกฝ่ายหนึ่ง โดยใช้ทักษะการรับ การส่ง การหลอก การเลี้ยง การหลบหลีกเพื่อเข้าไปทำประตู  การรุกมีหลายรูปแบบมีทั้งแบบที่เป็นระบบ  ไม่เป็นระบบ  การุกครอบคลุมพื้นที่ การรุกเร็วอย่างต่อเนื่อง (ลักไก่)  และแผนการอื่น ๆ  ที่เป็นไปตามแผน ที่กำหนดขึ้นเองก็ได้   ตัวอย่างเกมรุก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้

รุกแบบ 1-4

 

รุกแบบ 1-3-1

 

รุกแบบ 1-2-2

 

รุกแบบ 2-2-1( 2-3)

 

การรุกแบบแบ่งพื้นที่

 

การรุกโดยการเล่นแบบให้แล้วไป ( GIVE AND GO )

 

การรุกเร็วอย่างต่อเนื่อง (ลักไก่/fastbreak)

 

 

 

 

ผู้เล่นทีมรับ

จุดมุ่งหมายหลักของของทีมฝ่ายรับหรือทีมฝ่ายป้องกันก็คือ พยายามไม่ให้ฝ่ายรุกทำประตูได้ และขณะเดียวกันก็พยายามแย่งบอลเอามาเป็นของฝ่ายตนให้ได้เพื่อเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายรุก  การแข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายมักผลัดกันเป็นฝ่ายรุกฝ่ายรับ ผู้เล่นฝ่ายรับต้องมีเทคนิค และความสามารถเฉพาะตัวที่ดี มีการเตรียมพร้อมที่ถูกต้องที่จะช่วยให้การเคลื่อนไหวทิศทางต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว  ลักษณะการยืนขณะที่เป็นฝ่ายรับก็คือ เท้าใดเฃท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า งอเข่าเล็กน้อยแขม่วท้อง ตามองผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้ง 2 ข้าง

 

 

 

การป้องกันแบบพื้นที่หรือตั้งโซน

 

การป้องกันแบบ 2-3

 

การป้องกันแบบ 1-3-1

 

การป้องกันแบบ1-2-2

 

 

 

 

 

 

 


มักใช้กับการยืนยิงอยู่กับที่ เพราะขณะปล่อยลูกออกจากมือ ร่างกายของผู้ยิงต้องมีความนิ่งพอสมควร มิฉะนั้นความแม่นยำจะลดลงไป และใช้ยิงห่างจากห่วงประตูไม่มากนัก

ส่วนการยิงลูก 2 มือระดับมักใช้ในการยิงระยะไกลและปานกลางและสามารถใช้ร่วมกับการส่งลูก 2 มือระดับอกได้อีกด้วย

 ลูกตวัด          

เรียกกันทั่วๆ ไปว่าลูกฮุก ( hook shot ) เป็นลักษณะคล้ายกับการเกี่ยวลูกขึ้นไปยิงมักใช้เมื่อลูกอยู่ใต้แป้น ถูกฝ่ายรับเข้าประชิดตัว และไม่สามารถยิงด้วยวิธีอื่นได้  ผู้ยิงมักมีรูปร่างสูงและแขนยาว                                         

ลูกกระโดด

   

จุดประสงค์ของผู้เล่นที่กระโดดยิงประตู เพื่อต้องการให้ไกล้ความสูงเพิ่มมากขึ้นและให้พ้นจากการปัดหรือหรือถูกแย่งลูกบอลจากฝ่ายรับ และยังเป็นการเพิ่มความแม่นยำขึ้นอีกในกรณีที่ที่ผู้เล่นกระโดดสูงขณะเล่นลูกใต้แป้น  โดยโอกาสในการกระโดดยิงประตูมักใช้ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรับตั้งรับอย่างเหนียวแน่น และโอกาสหนึ่งคือการกระโดดแย่งลูกจากแป้นแล้วยิงซ้ำทันที

การกระโดดขึ้นไปยิงประตูนั้นผู้เล่นอาจจะก้าวเท้าแล้วกระโดดขึ้นยิง หรือยืนกับที่แล้วกระโดดขึ้นยิง แต่มีข้อแตกต่างคือการก้าวเท้ากระโดดขึ้นยิงจะมีแรงมากกว่า กระโดดไดสูแต่มีช่วงระยะเวลามาก ส่วนการอยู่กับที่แล้วกระโดดขึ้นยิงนั้นมีแรงน้อย แต่มีลักษณะฉับพลันยากต่อการป้องกัน การกระโดดเมื่อใช้ร่วมกับการส่งลูก  การหยุดชะงักและการหมุนตัวจะเกิดอาการเฉียบขาดและฉับพลัน

 

นิยมใช้กันมากกว่าวิธีอื่น ๆ  โดยเฉพาะการยิงจุดโทษ และการยิงระยะห่าง ๆได้ซึ่งขณะยิงผู้เล่นอาจยืนอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่กระโดดยิงก็ได้


 
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 220,956 Today: 4 PageView/Month: 82

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...